analyticstracking
หัวข้อ   “ ผ่าน 3 ปี นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ชีวิตแรงงานวันนี้เป็นอย่างไร
ผ่าน 3 ปี ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ผู้ใช้แรงงาน 69.4% ชี้ไม่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
89.3% วอนรัฐขึ้นค่าแรงขั้นต่ำได้แล้ว
63.3% ชี้ต้องจากบ้านเกิดเพราะมีงานให้เลือกทำน้อย
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 1 พฤษภาคมที่จะถึงนี้เป็นวันแรงงานแห่งชาติ
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็น เรื่อง “ผ่าน 3 ปี นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ชีวิตแรงงาน
วันนี้เป็นอย่างไร” โดยเก็บข้อมูลจากแรงงานที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุง
เทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,127 คน เมื่อวันที่ 25 - 28
เมษายนที่ผ่านมา พบว่า
 
                  ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 73.6 ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุง
เทพฯ และปริมณฑล
ขณะที่ร้อยละ 26.4 มีภูมิลำเนาอยู่ ทั้งนี้เมื่อถามถึงสาเหตุ
ที่ผู้ใช้แรงงานไม่ทำงานในภูมิลำเนาที่เกิดพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 ระบุ
ว่ามีงานให้เลือกน้อย
รองลงมาร้อยละ 31.3 ระบุว่า ในกทม. และปริมณฑลมี
สวัสดิการดีกว่า และร้อยละ 29.7 ระบุว่า มีการเปิดรับคนเข้าทำงานน้อยกว่า
 
                  สำหรับความกังวล กับสถานการณ์การแย่งงานจากแรงงาน
ต่างด้าว หลังเปิดประชาคมอาเซียนในปีนี้พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.7
ไม่กังวล เพราะแรงงานไทยมีทักษะฝีมือที่ดีกว่า
ขณะที่ร้อยละ 34.3 กังวล
เพราะแรงงานต่างด้าวสู้งาน และอดทนทำงานได้ดีกว่า
 
                  เมื่อถามความเห็นว่าหลังจากไม่มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเลยเป็นระยะเวลา 3 ปี ควรมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.3 เห็นว่าควรขึ้น
โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 79.6 อยากให้ขึ้นทั่วประเทศ ส่วนร้อยละ 9.7
อยากให้ขึ้นเฉพาะบางพื้นที่ เช่น พื้นที่เศรษฐกิจ กรุงเทพฯ ปริมณฑล ขณะที่ร้อยละ 10.7 เห็นว่าไม่ควรขึ้นเพราะเศรษฐกิจ
ยังไม่ดี จะทำให้ข้าวของแพงขึ้นค่าครองชีพสูงขึ้น
 
                  เมื่อถามต่อว่ากังวลมากน้อยเพียงใดต่อความเสี่ยงที่จะตกงาน หากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่า
300 บาท ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.0 กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 33.0 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าหลังจากได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจปี 2556 ร้อยละ 4.6)
ขณะที่ร้อยละ
30.6 มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น (ลดลงร้อยละ 13.6) ส่วนร้อยละ 18.9 มีชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0)
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ผู้ใช้แรงงานมีภูมิลำเนาที่เกิดอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลหรือไม่

 
ร้อยละ
ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
73.6
มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
26.4
 
 
             2. สาเหตุที่ไม่ทำงานในภูมิลำเนาที่เกิด แม้จะได้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศแล้ว
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อและถามเฉพาะผู้ที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล)

 
ร้อยละ
มีงานให้เลือกน้อย
63.3
ในกทม. และปริมณฑลมีสวัสดิการดีกว่า
31.3
มีการเปิดรับคนเข้าทำงานน้อยกว่า
29.7
ได้ค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท
29.1
ชอบอยู่กทม.และปริมณฑลมากกว่า
19.5
หางานที่ตรงกับทักษะไม่ได้
15.0
ต้องทำงานหนักกว่า
7.5
ในกทม. และปริมณฑลค่าครองชีพถูกกว่า
1.2
มีแรงงานต่างด้าวมาแย่งงาน
1.1
 
 
             3. ความกังวล กับสถานการณ์การแย่งงานจากแรงงานต่างด้าว หลังเปิดประชาคมอาเซียนในปีนี้

 
ร้อยละ
ไม่กังวล เพราะแรงงานไทยมีทักษะฝีมือที่ดีกว่า
65.7
กังวล เพราะแรงงานต่างด้าวสู้งาน และอดทนทำงานได้ดีกว่า
34.3
 
 
             4. ข้อคำถาม “หลังจากไม่มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเลยเป็นระยะเวลา 3 ปี คิดว่าควรมีการขึ้นค่าแรง
                 ขั้นต่ำหรือไม่”

 
ร้อยละ
ควรขึ้น
โดย ร้อยละ 79.6 อยากให้ขึ้นทั่วประเทศ
      ร้อยละ 9.7 อยากให้ขึ้นเฉพาะบางพื้นที่ เช่น พื้นที่เศรษฐกิจ กรุงเทพ ปริมณฑล
89.3
ไม่ควรขึ้นเพราะเศรษฐกิจยังไม่ดี จะทำให้ข้าวของแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น
10.7
 
 
             5. ข้อคำถาม “ท่านกังวลมากน้อยเพียงใดต่อความเสี่ยงที่จะตกงาน หากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
                  มากกว่า 300 บาท ”

 
ร้อยละ
กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 34.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 32.4)
67.0
กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 28.5 และมากที่สุดร้อยละ 4.5)
33.0
 
 
             6. ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน หลังจากได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

ชีวิตความเป็นอยู่
สำรวจเมษายนปี 2556
(ร้อยละ)
สำรวจเมษายนปี 2559
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น / ลดลง
(ร้อยละ)
ดีขึ้น
44.2
30.6
-13.6
เหมือนเดิม
45.9
50.5
+4.6
แย่ลง
9.9
18.9
+9.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                 - เพื่อสะท้อนความเห็นของผู้ใช้แรงงานต่อชีวิตความเป็นอยู่หลังได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
                 - เพื่อสะท้อนความกังวลต่อสถานการณ์การแย่งงานจากแรงงานต่างด้าว หลังจาดเปิดประชาคมอาเซียนในปีนี้
                 - เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้มากกว่า 300 บาท หลังจากไม่มีการขึ้นมาเป็นระยะเวลา 3 ปี
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
ได้แก่ เขตคลองเตย จอมทอง ดอนเมือง บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางบอน บึงกุ่ม ปทุมวัน
ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา สาทร หนองแขม หลักสี่ และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน
และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,127 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.6 และเพศหญิงร้อยละ 49.4
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 25 – 28 เมษายน 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 30 เมษายน 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
570
50.6
             หญิง
557
49.4
รวม
1,127
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
480
42.5
             31 – 40 ปี
250
22.2
             41 – 50 ปี
222
19.7
             51 – 60 ปี
136
12.1
             61 ปีขึ้นไป
39
3.5
รวม
1,127
100.0
อาชีพ:
   
             โรงงานอุตสาหกรรม
301
26.7
             กรรมกรก่อสร้าง
107
9.5
             รปภ. / ภารโรง
200
17.7
             แม่บ้าน / คนสวน
131
11.6
             รับจ้างทั่วไป
170
15.2
             ช่างซ่อม
41
3.6
             พนักงานบริการ / นวดแผนโบราณ
80
7.1
             พนักงานขับรถ
3
0.3
             พนักงานขาย
94
8.3
รวม
1,127
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776